หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการถ่ายภาพ











ความเร็วชัตเตอร์
เป็นการกำหนดระยะเวลาในการบันทึกภาพ ซึ่งกลไกของกล้องจะมีแผ่นเลื่อนเปิดปิดอยู่หน้าฟิล์ม (หรือแผ่นรับแสง CCD ในกรณีของกล้องดิจิตอล) เรียกว่าชัตเตอร์ สามารถเปิดและปิดเพื่อเปิดให้แสงเข้าไปบันทึกภาพตามระยะเวลาที่เราตั้งความเร็วชัตเตอร์ เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสง เช่น การถ่ายภาพจากแหล่งแสงที่มีแสงน้อย เช่น แสงเทียน ต้องเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์หลายวินาที ส่วนการถ่ายภาพกลางแจ้ง มีแดดจัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่า เช่น 1/500 วินาทีเป็นต้น
ปัจจัยอื่นที่สำคัญคือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น การถ่ายภาพรถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ต้องการให้ภาพคมชัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่ทำได้ โดยสัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่เลือก เช่น ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/4000 วินาที เป็นต้น




ขนาดรูรับแสง
กล้องส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์บังคับให้แสงผ่านเลนส์มากหรือน้อย โดยใช้แผ่นกลีบโลหะซึ่งติดตั้งอยู่ในตัวเลนส์เป็นการกำหนดปริมาณแสงผ่านเลนส์ได้มากหรือน้อย โดยวิธีเปิดรูเล็กสุด เช่น f/22 และค่อยๆใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเปิดเต็มที่ เช่น f/1.4 แต่ขนาดเปิดเต็มที่จะขึ้นกับขนาดชิ้นเลนส์ด้วย เลนส์ราคาสูงที่มีเลนส์ชิ้นหน้าขนาดใหญ่ จะรับแสงได้มากกว่า ซึ่งหมายถึงเปิดรูรับแสงเต็มที่ได้กว้างกว่า เช่น f/1.2 สำหรับการถ่ายภาพจะเลือกใช้ขนาดรูรับแสงใด โดยทั่วไปจะพิจสาสารณาจากสภาพแสง ถ้าแสงมากมักจะใช้ขนาดรูรับแสงเล็ก เช่น f/11 ถ้าแสงน้อยมักจะใช้ขนาดรูรับแสงใหญ่ เช่น f/2 เป็นต้น
ปัจจัยอื่นที่สำคัญ คือ ความชัดลึก

ตะวันลับขอบฟ้า

เคยได้ยินมาว่า...

"พระอาทิตย์ตกดิน สื่อความหมายถึงการลาจาก"         

              ฉันไม่ค่อยชอบบรรยากาศตอนนี้ซักเท่าไหร่ (สวยแบบเศร้าๆ) หากได้นั่งอยู่คนเดียวทีไร อดให้นึกถึงเรื่องของวันวานไม่ได้ทุกที
                

                 เนี่ยแหละนะ สัจธรรมของมนุษย์ มีพบก้อมีจาก... มีเสียงหัวเราะก้อต้องมีหยดน้ำตา ... เหมือนงานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา ... ไม่มีความสุขใดที่จะอยู่กับเราทุกวัน และไม่มีความทุกข์ใดจะอยู่กับเราตลอด ... ทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขของเวลา ...
               

                บางทีในอีกมุมหนึ่ง "พระอาทิตย์ตกดิน สื่อความหมายของการลาที" (ไม่ใช่ลาจาก)   ลา เพื่อหยุดพัก ... พักใจอย่างนิ่งๆ อยู่กับตัวเอง(อย่างมีความสุข)ให้ได้ในแต่ละวันวัน     แล้วทบทวนสิ่งที่ผ่านมา ถามตัวเองว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าไม่ใช่ก้อหยุด หรือถอย อีกก้าว เพื่อก้าวต่อไปที่มั่นคงกว่า เหนื่อยก้อต้องพัก แล้วลุกยืนให้ไหว คิดมากทำไม กับความผิดพลาด

               ตะวันยังขึ้นได้ใหม่ ชีวิตก้อเริ่มต้นใหม่ได้เช่นกัน จะกลัว อะไร แค่กล้าที่จะก้าวออกมา และให้กำลังใจตัวเองทุกวัน ว่า "วันนี้เราต้องดีกว่าเมื่อวาน"
              

               เพราะสิ่งแย่ๆ ได้ลาไปแล้ว ไปพร้อมกับตะวันที่ลับของฟ้าของเมื่อวานนั่นเอง
       

             พรุ่งนี้รีบตื่น เพื่อรับกับตะวันดวงใหม่(ที่เป็นเหมือนความหวังใหม่) อย่างสดใสกันดีกว่า

            หากตะวันดวงนี้ อาจมีสิ่งดีๆ มาให้กับเรา เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า  ดีกว่า  และดีกว่า
                     

                                                             (ขอบคุณดวงตะวัน)

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดูแลรักษากล้อง

  การวางกล้องครับ กล้อง DSLR และอุปกรณ์ต่าง ไม่ว่าจะเลนส์ แฟลช กริ๊ป ฟิลเตอร์ ต่างก็กลัวความชื้นกันทั้งนั้นครับ ยิ่งหน้าฝนอากาศยิ่งชื้นมากกว่าปกติ ดังนั้นการวางกล้องไม่ควรวางไว้ ณ ที่ที่มีความชื้นครับ อาทิ ตู้เสื้อผ้า หรือตู้เหล็ก หรือไม้ครับ ความชื้นในสถานที่ที่กล่าวมานี้จะมีมากกว่าเดิมครับ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ของเรา คือหลักๆ เชื้อรา จะเกิดเป็นคราบดำๆอยู่บริเวณที่เป็นกระจก ไม่ว่าจะเลนส์ หรือกระจกสะท้อนที่ตัวกล้องครับ
   วิธีการป้องกันเบื้องต้นที่ถูกหลัก คือการหลีกเลี่ยงความชื้นเหล่านี้ครับ คือการวางกล้องควรวางไว้ในกระเป๋ากล้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกครับ และต้องใส่สารกันชื้นลงในกระเป๋าสัก 1-2 ซอง (ตามความเหมาะสมของกระเป๋าครับ) ความชื้นในกระเป๋าจะถูกดูดความชื้นด้วยสารกันชื้นออกไป หรือถ้าเกิดมีอุปกรณ์มากกว่า 4-5 ชิ้น ก็ควรเลือกอุปกรณ์ที่รองรับกับปริมาณอุปกรณ์ที่เรามีครับอย่าง กล่องกันความชื้นหรือตู้กันความชื้นครับ ราคาก็มีตั้งแต่ประมาณ 2,000 หน่อยๆ ไปถึงหลักหมื่นก็มีครับ ราคาอาจจะสูงสักนิดแต่ใช้ได้ยาวนานครับ พูดได้ง่ายๆว่าคุ้มค่าคุ้มราคาครับ เพราะถ้าอุปกรณ์ตัวละหลายๆหมื่น ถึงแสน คงไม่ต้องพูดถึงเลยครับว่าคุ้มค่าแค่ไหน ดังนั้นการหลีกเลี่ยงความชื้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลครับ