หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตลาดน้ำ

ตลาดน้ำโบราณ 140 ปี ริมคลองสำโรง อำเภอบางพลี เป็นตลาดขายของและ 
ร้านอาหารริมน้ำที่มีมานาน อดีตตลาดน้ำโบราณ 140 ปี ริมคลองสำโรง อำเภอบางพลี เป็นตลาดขายของและ 
ร้านอาหารริมน้ำที่มีมานาน อดีตเคยมีความเจริญรุ่งเรือง สมัยที่คนไทยใช้ชีวิต อยู่ตามริมคลอง และพายเรือจ้ำ เรือแจวเป็นพาหนะ ลำคลองจึงเปรียบเสมือนเป็นถนนของการสัญจรของคนไทยในอดีต หลายจังหวัดที่เคยมีตลาดน้ำในลักษณะนี้ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นสังคมยุคใหม่ ไปหมดแล้ว แต่คลองสำโรง บางพลี ยังเป็นตลาดน้ำที่มีชีวิต เป็นชีวิตจริงที่ยัง ดำเนินไปเหมือนเช่นอดีต ในตลาดยังมีสินค้าดั่งเดิม เช่นกระต่ายขูดมะพร้าว กระทะใบเล็กๆ หมากพลู และของกินกับหมาก ที่คุณยาย คุณย่า ยังนั่งเคี้ยวหมากให้เห็น พร้อมกับขายของพวกนี้ไปด้วย ของบางอย่างที่หาดูยากแต่ตลาดที่นี่ยังมีขาย เช่นใต้จุดไฟที่ทำจากน้ำมันดินห่อด้วยเปลือกไม้ สำหรับเป็นเชื้อไฟในการจุดเตาถ่าน หรือสบู่กรดใช้สำหรับซักผ้าให้ขาว รวมทั้งของใช้ในชีวิตประจำวันที่เคยเห็นมาแต่ตอนเด็กๆ
เคยมีความเจริญรุ่งเรือง สมัยที่คนไทยใช้ชีวิต 

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไก่ เเจ้ ไทย

ไก่แจ้เป็นไก่พื้นเมือง สืบทอดสายพันธ์มาจากไก่ป่าเช่นเดียวกับไก่ประเภทอื่นๆ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเมืองไทยก็พบไก่แจ้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ถือว่าเป็นไก่พื้นเมืองของประเทศไทยสายพันธุ์หนึ่ง ในแถบยุโรปและอเมริกาจะเรียกไก่แจ้ว่า "แจแปนนีสแบนตั้ม" (Japannese Bantams)เพื่อเป็นการให้เกียรติกับชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ไก่แจ้ขึ้นมาทั้งๆที่ไก่แจ้แท้จริงแล้วไม่ใช่ไก่พื้นเมืองของญี่ปุ่น มีหลักฐานกล่าวว่าแรกเริ่มชาวญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้มาจากจีนตอนใต้เมื่อพ.ศ.2149 - 2179 จากนั้นได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้รูปทรงและสีสันที่สวยงาม ในเวลาต่อมาญี่ปุ่นได้นำไก่แจ้ จากแถบคาบสมุทรอินโดจีนไปผสมเพิ่มเติมอีก ซึ่งใช้เวลาในการคัดพันธุ์นับร้อยปี จนกระทั่งประมาณห้าสิบปีเศษมานี้เองไก่แจ้ญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ในแถบยุโรปที่มีการนิยมเลี้ยงไก่แจ้ก็เพราะว่า เมื่อสมัยโบราณชนชาติจีนมีการติดต่อซื้อขายกับชาวอังกฤษ ซึ่งชาวจีนได้นำไก่แจ้ติดเรือสำเภาไปด้วย เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงแก้เหงาในเรือ เมื่อพ่อค้าชาวอังกฤษเห็นเข้า ก็เกิดความสนใจและได้นำไปเลี้ยงยังประเทศอังกฤษ ในตอนแรกก็มีการเลี้ยงกันเฉพาะพ่อค้าและชาวบ้าน ต่อมาพระนางวิคตอเรียเห็นเข้าและพอพระทัยจึงมีการนำเข้าไปเลี้ยงในพระราชวังเป็นครั้งแรก สำหรับในเมืองไทยมีการเลี้ยงไก่แจ้มาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว แต่ไม่ได้สนใจในการปรับปรุง หรือคัดสายพันธุ์เลย จนกระทั่งเมื่อประมาณ20-30ปีที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง ในการพัฒนาเพื่อให้ไก่แจ้ไทยมีลักษณะดีและสวยงามตามแบบมาตรฐานสากล จึงได้มีการสั่งซื้อไก่แจ้ สายพันธุ์ที่ดีจากญี่ปุ่นเข้ามาผสมกับสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย จากการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันไก่แจ้ไทยกลายเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศมากขึ้น