หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาพมุมกว้าง เลนส์มุมกว้าง


ภาพมุมกว้าง เลนส์มุมกว้าง 
การถ่ายให้ได้มุมที่กว้าง เก็บภาพได้ครบ จำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้าง จุดสนใจของภาพอยู่ตรงกลุ่มคน 3 คนนั้น โดยเสื้อสีแดงทำให้เด่นขึ้น ภาพนี้ถ่ายรอจังหวะที่ผู้ใหญ่กำลังประคองเด็ก ซึ่งให้สาระน่าสนใจกว่าจังหวะที่เห็นเด็กไต่เขาลงมา ซึ่งเห็นเด็กไม่ค่อยถนัดนัก ภาพนี้อาจสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยวได้ชัดเจน น่ามาเที่ยว น่ามาใต่เขาชมวิวข้างบนซึ่งเห็นทิวทัศน์หมู่เกาะอ่างทองได้รอบทิศ ข้อควรระวังในการใช้เลนส์มุมกว้างก็คือเรื่องพื้นที่ว่างในภาพที่อาจดูมากเกินไปและดูไม่เกิดประโยชน์ หากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีท้องฟ้าเป็นสีขาวๆเหมือนภาพนี้ก็ควรหลบท้องฟ้าให้มากๆ  เหลือเพื่อสื่อความหมายให้เห็นแนวขอบฟ้าเพียงนิดหน่อยก็พอ

Nikon FE2 ,Tokina Lens 20 - 35 mm., Kodak Negative PRN 100 , Shutter speed 1/60

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การถ่ายภาพ Portrait

1. จงหลีกเลี่ยงฉากหลังที่มาแย่งความสนใจของบุคคล วัตถุในภาพควรเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อ
ให้บุคคลในภาพเด่นเท่านั้น เช่นภาพคนกำลังวาดภาพ แปรงสี, ภู่กันหรือจานสี ก็เป็นองค์ประกอบที่สร้าง
ความรู้สึกทั่วไปในภาพให้ผสมกลมกลืนกับบุคคลที่เป็นช่างศิลปในภาพฉากหลังที่มารบกวน เช่นกำแพง
อิฐ หรือสิ่งอื่นใดควรขจัดทิ้งไปซึ่งอาจจะทำได้หลายวิธี คือเปิดรูรับแสงให้กว้างๆเพื่อให้ภาพมีความชัดลึก
น้อย หรือเราจะจัดฉากหลังให้เป็นกลางโดยใช้ท้องฟ้าเป็นฉากหลังพยายามจัดตัวแบบให้อยู่บนเนินหรือ
กำแพง เพื่อเปิดโอกาสให้ถ่ายภาพมุมต่ำได้ หรือแม้แต่พื้นดินหรือสนามหญ้าฯลฯ ก็ใช้เป็นฉากหลังเรียบๆ
โดยการถ่ายภาพมุมสูง คือกดกล้องให้ต่ำลง ถ้ามีวัตถุอื่นเป็นฉากหลังควรจัดเสียใหม่
2. ให้ตัวแบบทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อแก้ความเคอะเขินของตัวแบบ เช่นให้ถือของบางอย่าง เช่น
หนังสือช่อดอกไม้ เป็นต้น หรือบางสิ่งบางอย่างที่สามารถบอกลักษณะของบุคคลได้ พยายามถ่ายบุคคลให้
สัมพันธ์กับกิจกรรมที่เขาทำอยู่ เช่นเด็กกำลังเล่นของเล่นผู้หญิงกำลังจัดดอกไม้เป็นต้นในกรณีการถ่าย
ภาพเด็ก จำเป็นมากเพราะหากจู่ๆก็เข้าไปถ่ายภาพเด็กทันที เด็กไม่คุ้นเคยก็จะเกิดความตื่นกลัวไม่ยอมให้
ถ่ายหรือถ่ายได้ภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นขณะกำลังถ่ายจึงควรแนะนำให้เด็กเล่นอะไรที่สนุก หรือหา
ของเล่นมาให้ จงปล่อยให้เด็กเป็นตัวของตัวเองแล้วค่อยจับอากัปกิริยาที่ต้องการมีข้อห้ามอยู่ 3 ข้อในการถ่าย
ภาพเด็กคือ
- อย่าให้แสงแดดส่องเข้าใบหน้าเด็กตรงๆจะทำให้เด็กมีนัยตาหยีและหน้าตาดูกร้านเกินวัย
- อย่าถ่ายภาพเด็กไกลเกินไป จะได้ภาพเล็กยากที่จะขยายให้ดีได้
- อย่าเลือกถ่ายตรงสถานที่ที่มีฉากหลังยุ่งเหยิง
3. ในการถ่ายภาพหมู่ที่เป็นการเป็นงาน ช่างภาพควร จัดให้นั่งหรือยืนกันเป็นแถวให้สวยงาม แต่ในกรณี
การถ่ายภาพโดยทั่วไปที่ไม่เป็นการเป็นงานนั้น ควรชวนให้ทุกคนมุ่งความสนใจไปสิ่งหนึ่งรวมกัน และ
ควรจัดตำแหน่งของคนในภาพให้ศีรษะผู้ที่เป็นแบบเรียงกันให้สวยงาม อย่าซ้อนกันเป็นเส้นตรงขนานกันไป
แต่ควรจัดแนวศีรษะอยู่ในรูปสามเหลี่ยมจะ ทำให้ภาพดูเด่นและน่าสนใจขึ้น
4.ในการให้แสงเพื่อแสดงลักษณะของบุคคล จัดลักษณะของแสงและทิศทางที่มาของแสงให้เหมาะ
กับวัตถุที่ถ่าย แสงกระจายนุ่มๆ และการให้แสงแบบแบนๆจะให้ความนุ่มนวลและเป็นความรู้สึกที่เหมาะ
สมกับวัตถุที่อยู่นิ่งๆ ให้อารมณ์หรือบรรยากาศเคร่งขรึมแสงจัด เป็นแสงหนักและให้ความรู้สึกเปิดเผย
แสงที่มาในแนวเฉียง เหมาะสำหรับบุคคลที่ให้อารมณ์และบรรยากาศตื่นเต้น พยายามหลีกเลี่ยงการถ่าย
ภาพในตอนเที่ยงวัน เพราะแสงแรงและจะเกิดเงาใต้ตาไม่สวยงามและอย่าพยายามบังคับให้ผู้ถูกถ่าย
หันหน้าเข้าดวงอาทิตย์ ควรใช้แสงแนวเฉียงเข้าเหนือศีรษะจะช่วยแยกผมออกจากผิวพื้น ภาพบุคคลจะเด่นขึ้น

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาพชัดตื้นหรือลึก

          ภาพชัดตื้นหรือลึก (shallow/deep depth of field) คำว่าตื้น/ลึกหมายถึงช่วงความลึกของภาพที่จะคมชัดนั่นเอง ลองนึกถึงสถานการณ์สองแบบ แบบแรกคุณอยากถ่ายรูปคนครึ่งตัว โดยต้องการให้คนในรูปเด่นกว่าวิวด้านหลัง ไม่ว่าวิวด้านหลังจะเป็นฝาผนังห้องสีหม่นๆ หรือมีของอะไรก็ไม่รู้รกรุงรังไปหมด หรือมีคนเดินไปเดินมา ที่อาจจะทำให้ภาพออกมาดูไม่ดี เราก็อยากเน้นให้คนที่เราถ่ายชัดๆ ในขณะที่ภาพด้านหลังเบลอๆ แบบนี้เราควรจะถ่ายภาพแบบชัดตื้น นั่นคือช่วงความลึกที่ภาพจะชัดจะน้อย อีกสถานการณ์หนึ่ง คุณไปเที่ยวเจอวิวทิวทัศน์สวยๆ อยากถ่ายเก็บรูปวิวให้คมชัดทุกส่วน ไม่งั้นเดี๋ยวแม่น้ำชัดแต่ภูเขาด้านหลังมัว ไม่ก็ป้ายดิสนีย์ชัด แต่ตึกที่เป็นลวดลายการ์ตูนกับมัว ภาพก็ขาดความน่าสนใจไป แบบนี้เราต้องเลือกถ่ายแบบชัดลึก นั่นคือไม่ว่าของอะไรอยู่ห่างจากกล้องแค่ไหนก็จะชัดหมด (เลนส์แต่ละตัวจะมีสเปกว่าระยะโฟกัสต่ำสุดมีค่าเท่าไร นั่นหมายความว่าของที่อยู่ใกล้เกินไปอาจโฟกัสไม่ได้ แต่ของที่อยู่ห่างกว่านั้นสามารถโฟกัสชัดหมด) การถ่ายภาพชัดเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะให้ชัดตื้นหรือชัดลึกจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนดูเข้าใจว่าคนถ่ายต้องการสื่ออะไรในรูปบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการซื้อกล้องดิจิตอล

            มาเข้าเรื่องกันเลย... ไม่ว่าคุณกำลังจะซื้อกล้องดิจิตอลใหม่เอี่ยมแกะกล่อง หรือกล้องดิจิตอลมือสอง จะเป็นกล้องชนิดแบบใดก็ตามแต่ สิ่งสำคัญที่คุณต้องดูก่อนจะจ่ายตังค์ นั่นก็คือ เซ็นเซอร์รับภาพแทนฟิล์ม (CCD, CMOS) ตัวเซ็นเซอร์นี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในกล้องดิจิตอลเลยทีเดียวนะครับ หากเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ ทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดการเสื่อมสภาพขึ้นล่ะก้อ กล้องถ่ายรูปตัวนั้น ก็อาจกลายเป็นที่ทับกระดาษราคาแพงไปได้เลยนะครับเริ่มต้นควรตรวจสอบเซ็นเซอร์ของกล้องก่อนว่ามี จุดร้อน จุดตาย (Hot pixel / Dead pixel) หรือไม่ เจ้าจุดร้อน จุดตาย ที่ว่านี้ก็คือ เซ็นเซอร์รับภาพของกล้องดิจิตอล ซึ่งจะมีจุดรวมกันหลายจุดบนเซ็นเซอร์ แต่ละจุดจะทำหน้าที่รับภาพโดยการแปลงข้อมูลแสง (Optical Image) ให้เป็น ข้อมูลตัวเลข (Digitized Image) หากจุดใดจุดหนึ่งเกิดปัญหารับสัญญาณมาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง กรณีนี้เรียกว่า จุดร้อน (Hot pixel) และหากจุดใดที่มีปัญหารับสัญญาณมาไม่ได้เลย ก็จะเรียกว่า จุดตาย (Dead pixel)การตรวจสอบ จุดร้อน จุดตาย (Hot pixel / Dead pixel) นี้จะทำได้โดยการใช้โปรแกรมตรวจสอบโดยเฉพาะแต่ในทางปฎิบัติจริง เจ้า Hot/Dead เหล่านี้ มันแทบจะไม่มีผลกับภาพมากมายอะไรนัก (หากมีไม่เยอะสุดๆจริงๆ) เพราะแต่ละจุดที่เกิด Hot/Dead นั้น หากมีการย่อขยายไฟล์รูปเพื่อนำไปพิมพ์เมื่อไหร่ เจ้าจุดเหล่านี้ก็แทบจะหายไปหมดแล้วครับ (หัวยิงแสง หรือฟิล์มเทียมของเครื่องอัดรูปดิจิตอล จะไม่ละเอียดเท่ากับเซ็นเซอร์รับภาพของกล้องดิจิตอลครับ เจ้าพวกจุดเหล่านี้ก็จะถูกบดบี้ บดบัง หายไป แทบไม่มีวันปรากฎบนกระดาษอัดรูปให้เราเห็นง่ายๆอย่างแน่นอน) แต่คุณจะยังคงสามารถเห็นเจ้าจุดเหล่านี้ได้ เมื่อคุณเปิดไฟล์รูปต้นฉบับที่ยังไม่ผ่านการย่อขยายใดๆ (Resize) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในอัตราขยายเท่าความละเอียดจริง (Actual size)แต่ก็นั่นแหล่ะครับ ของใหม่ ก็คือของใหม่ คนซื้อก็อยากได้ของที่สมบูรณ์ที่สุด รู้ไว้ใช่ว่า หากตรวจเจอว่ากล้องมีจุดเหล่านี้ มีโอกาสเปลี่ยนได้ ก็เปลี่ยนเป็นตัวที่ไม่มี ดีกว่าครับ จะได้สบายใจในการจ่ายตังค์กันไปหลังจากตรวจสอบ Hot/Dead ที่ตัวเซ็นเซอร์แล้ว สิ่งที่ต้องตรวจสอบ Hot/Dead บนตัวกล้องอีกที่ ก็คือบนหน้าจอ LCD สำหรับดูรูปที่ถ่าย Hot/Dead ที่เกิดบนจอ LCD (ถ้าไม่ได้เกิดในไฟล์รูป) จะไม่มีผลกับภาพที่บันทึกมานะครับ แต่หากคุณกำลังจะซื้อกล้องใหม่ ก็คงไม่มีใครอยากให้กล้องของตัวเองต้องมีตำหนิ ใช่ไหมครับ? หากไม่ลืมก็ควรดูตรงนี้ด้วยนะครับวิธีตรวจสอบก็คือ ถ่ายแบบเดียวกับการตรวจสอบ Hot/Dead บนเซ็นเซอร์ (ต้องตรวจสอบก่อนว่าบนเซ็นเซอร์ไม่มี Hot/Dead นะครับ) เมื่อกดดูรูปที่มืดสนิทบนจอ LCD ให้ลองมองหาจุดสว่างบนจอดู กรณีนี้สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าครับ ทดสอบให้แน่ใจ หากไม่มีจุดสว่างๆ หรือจุดผิดปกติใดๆบนหน้าจอ LCD ของกล้อง ก็ถือว่าผ่านครับ